วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 6 การ์ดแสงผล

บทที่ 6
การ์ดแสดงผล
       การ์ดแสดงผล หรือ การ์ดจอ (video card หรือ display card) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงผลจากหน่วยความจำ มาคำนวณและประมวลผล จากนั้นจึงส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณเพื่อนำไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล (มักเป็นจอภาพ)

หลักการทำงานของการ์ดจอ
หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร 

หน่วยความจำ 

การ์แสดงผลจะต้องมีหน่วยความจำที่เพียงพอในการใช้งาน เพื่อใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู และสำหรับการ์ดแสดงผล บางรุ่น ก็สามารถประมวลผลได้ภายในตัวการ์ด โดยทำหน้าที่ในการ ประมวลผลภาพ แทนซีพียูไปเลย ช่วยให้ซีพียูมีเวลาว่ามากขึ้น ทำงานได้เร็วขึ้น 
เมื่อได้รับข้อมูลจากซีพียูมาการ์ดแสดงผล ก็จะเก็บข้อมูลที่ได้รับมาไว้ในหน่วยความจำส่วนนี้นี่เอง ถ้าการ์ดแสดงผล มีหน่วยความจำมากๆ ก็จะรับข้อมูลมาจากซีพียูได้มากขึ้น ช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพ มีความเร็วสูงขึ้น และหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงก็ยิ่งดี เพราะจะมารถรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ยิ่งถ้าข้อมูล ที่มาจากซีพียู มีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งต้องใช้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ๆ เพื่อรองรับการทำงานได้โดยไม่เสียเวลา ข้อมูลที่มี ขนาดใหญ่ๆ นั่นก็คือข้อมูลของภาพ ที่มีสีและความละเอียดของภาพสูงๆ 

ความละเอียดในการแสดงผล 
การ์ดแสดงผลที่ดีจะต้องมีความสามารถในการแสดงผลในความละเอียดสูงๆ ได้เป็นอย่างดี ความละเอียดในการแสดงผลหรือ Resolution ก็คือจำนวนของจุดหรือพิเซล (Pixel) ที่การ์ดสามารถนำไป แสดงบนจอภาพได้ จำนวนจุดยิ่งมาก ก็ทำให้ภาพที่ได้ มีความคมชัดขึ้น ส่วนความละเอียดของสีก็คือ ความสามารถในการแสดงสี ได้ในหนึ่งจุด จุดที่พูดถึงนี้ก็คือ จุดที่ใช้ในการแสดงผล ในหน้าจอ เช่น โหมดความละเอียด 640x480 พิกเซล ก็จะมีจุดเรียงตามแนวนอน 640 จุด และจุดเรียงตามแนวตั้ง 480 จุด 
โหมดความละเอียดที่เป็นมาตราฐานในการใช้งานปกติก็คือ 640x480 แต่การ์ดแสดงผลส่วนใหญ่ สามารถที่จะแสดงผลได้หลายๆ โหมด เช่น 800x600, 1024x768 และการ์ดที่มีประสิทธิภาพสูงก็จะ สามารถแสดงผลในความละเอียด 1280x1024 ส่วนความละเอียดสก็มี 16 สี, 256 สี, 65,535 สี และ 16 ล้านสีหรือมักจะเรียกกันว่า True Color

1. รู้จักการ์ดแสดงผล 
 การ์ดแสดงผล (Graphic Card, Display Card หรือ VGA Card) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณทางดิจิตอลให้เปลี่ยนเป็น
 สัญญาณภาพที่แสดงผลผ่านจอคอมพิวเตอร์ ชนิดของการ์ดแสดงผลจะเป็นตัวกำหนดความเร็วในการแสดงผล ความละเอียดและความคมชัด
 ของกราฟฟิก รวมทั้งจำนวนสีที่สามารถแสดงผลด้วย

   การ์ดแสดงผลจะประกอบด้วยส่วนต่างๆที่ไม่ซับซ้อนมากนักโดยส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนการ์ดจะมีข้อความอธิบาย ไว้ด้วย ซึ่งจะสนับสนุนช่องต่อแบบใดบ้างนั้นก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของการ์ดรุ่นนั้นๆด้วยสำหรับส่วนประกอบต่างๆ
ที่สำคัญก็คือชิปกราฟฟิกแรมบนตัวการ์ดพอร์ตเชื่อมต่อสายสัญญาณกับจอภาพ และอินเทอร์เฟสของการ์ด
รูปที่ 5.1 การ์ดแสดงผล
                 นอกจากนั้นการ์ดบางรุ่นยังมีช่องต่อต่าง ๆ ต่อไปนี้เพิ่มด้วย
                         ช่อง DVI สำหรับต่อกับจอภาพ LCD
                         ช่อง Video – in สำหรับรับไฟล์วิดีโอจากกล้องวิดีโอ
                         ช่อง Video-out สำหรับแสดง/นำไฟล์วิดีโอออกไปยังอุปกรณ์ภายนอก
                         ช่อง TV-out สำหรับต่อเข้ากับทีวี (เป็นการ์ดแบบ TV-Tunner )
รูปที่ 5.2 ช่องต่อต่าง ๆ ของการ์ดแสดงผล
                คอมพิวเตอร์รุ่นประหยัดในปัจจุบัน มักจะมีชิปสำหรับแสดงผลติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ด หรือเรียกว่า Video on Board อยู่แล้ว ซึ่งส่วนเชื่อมต่อต่าง ๆ ที่ออกมาทางด้านหลังของเมนบอร์ดก็จะมีเพียงพอร์ต VGA สำหรับต่อเข้ากับสายสัญญาณจากจอภาพเท่านั้น
2. ชิปแสดงผลจากค่ายอื่น ๆ
                นอกจากชิปแสดงผลยอดนิยมจากค่าย nVidia และ ATi แล้วยังมีผู้ผลิต จากค่ายอื่น ด้วย ซึ่งก็มุ่งเน้นตลาดในระดับที่แตกต่างกันไป
   ดังนี้


 3. คุณสมบัติอื่น ๆ ของการ์ดแสดงผล

              นอกจากการพิจารณาตัวชิปบนการ์ดแล้ว ในการเลือกการ์ดแสดงผลมาใช้งานยังมีปัจจัยสำคัญอื่น ๆ ที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบ

 กันด้วย  เพื่อให้ได้การ์ดที่มีประสิทธิภาพตรงกับงานที่ทำอยู่ด้วย เช่น มาตรฐาน การเชื่อมต่อ ชนิดและขนาดของแรมบนการ์ด เป็นต้น

             3.1 มาตรฐานการเชื่อมต่อ  การแสดงผลในปัจจุบันใช้ระบบบัสเชื่อมต่อแบบ AGP ( Accelerated Graphic Port ) 
  ซึ่งมาแทนการเชื่อมต่อแบบ PCI โดยมาตรฐาน AGP นี้ทำให้ได้ความเร็วด้านการแสดงผลเพิ่มขึ้น เริ่มต้นที่ความถี่ 66 MHz
 (ในระบบบัส PCI ทำงานที่ความถี่33 MHz )  และความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 266 MB/s โดยปัจจุบัน พัฒนาไปถึงมาตรฐาน AGP 8x 
 ที่มีความเร็วในการทำงานถึง 2 GB/s เลยทีเดียว


1) มาตรฐาน AGP 4x เป็นมาตรฐานที่มีใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน โดยรับ/ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วเป็น 2 เท่า
  ของ AGP 2x  โดยใช้ความกว้างบัส 32 บิต สามารถส่งข้อมูลได้ 4ครั้งใน 1 สัญญาณความถี่ ดังนั้นความถี่ในการส่งข้อมูลจะเท่ากับ
 266 MHz นั่นคือความเร็ว ในการรับส่งข้อมูลสูงสุดเป็น 266 MHz x 4 Bytes = 1064 MB/s หรือ 1 GB/s

                       2) มาตรฐาน AGP 8x AGP 8x เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อใหม่ที่สามารถทำงานได้ที่ความเร็วสูงสุด 2 GB/s
  ปัจจุบันเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ สนับสนุนมาตรฐานนี้กันบ้างแล้ว โดยการ์ดหลาย ๆ รุ่น เช่น ของ WinFast ที่ใช้ชิปกราฟฟิก
 GeForce FX 5800 หรือการ์ดของ Gigabyte ที่ใช้ชิปกราฟฟิก ATi Radeon 9000 Pro ก็รองรับมาตรฐาน AGP 8x ด้วย

               3.2 หน่วยความจำบนการ์ดแสดงผล  การทำงานของการ์ดแสดงผลนั้น มีอยู่ 2 โหมด คือใหมด Text และโหมด
  Gaphic ซึ่งปัจจุบัน ในการทำงานบน Windows นั้นเป็นการแสดงผลในแบบโหมด Graphicซึ่งหน่วยความจำบนการ์ดจะคอยรับข้อมูล
 ที่มาจากซีพียูถ้าหน่วยความจำ มากก็จะรับข้อมูลจากซีพียูมากช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้น

                 การพิจารณาหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลนั้น สิ่งที่ควรดูมากที่สุดก็คือเรื่องของประเภทแรม
   และขนาดแรม   แรมที่ใช้บนการ์ดแสดงผลในปัจจุบันมีตั่งแต่ 32-128 MB ซึ่งขนาดของแรมที่มากก็จะช่วยให้คุณภาพ
 การ์ดแสดงผลของการ์ดสูงขึ้นตามไปด้วย  สำหรับชนิดของหน่วยความจำที่ใช้กันบนการ์ดแสดงผลในปัจจุบันนั้นมีดังนี้  

                       1) แรมชนิด SDRAM เป็นชนิดเดียวกับที่ใช้เป็นหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์นั่นเอง มีอัตราการส่งข้อมูล
  โดยประมาณ 528 MB  ยังคงมีการนำมาใช้บนการ์ดแสดงผลในปัจจุบัน รองจากแรมชนิด DDR SDRAM ที่มักเป็นมาตรฐานของ
  การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ ๆ
                        2) แรมชนิด DDR SDRAM เป็นแรมที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้บนการ์ดแสดงผลมากที่สุด
 ในปัจจุบัน  เพราะสามารถทำงานได้เร็วกว่าแรมชนิด SDRAM ถึง 2เท่าที่ความถี่เดียวกัน
                       3) แรมชนิด DDR2 เป็นแรมที่ถูกพัฒนาเพื่อทำงานร่วมกับการ์ดแสดงผลโดยเฉพาะ และจะนำไปใช้

                เป็นแรมปกติที่ทำงานร่วมกับซีพียูด้วย DDR2 จะเข้ามาช่วยลดปัญหาคอขวดในการรับส่งข้อมูล ระหว่างชิปกราฟฟิก
  ไปยังหน่วย ความจำบัฟเฟอร์ ทำให้สามารถแสดงผลได้รวดเร็วขึ้น รองรับการทำงานที่ความเร็วมากถึง 1 GHz 

การเลือกซื้อการ์ดแสดงผล
โดยปกติแล้ว การที่เราจะทราบผลลัพธ์ของการประมวลผล หรือผลลัพธ์ของการทำงานของ CPU ได้นั้น เรามักจะดูผลลัพธ์ผ่านทางหน้าจอภาพ หรือ Monitor หากเรามองว่า เราสื่อสาร หรือติดต่อกับทาง Computer ผ่านทาง Keyboard หรือ Mouse แล้ว Monitor นี้ ก็คือที่ทาง Computer ใช้ในการติดต่อกับผู้ใช้นั่นเอง และส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่ง ที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง ช่วยแปลงสัญญาณจาก Computer ให้กลายเป็นสัญญาณภาพ ออกทาง Monitor ได้นั้น ก็คือ การ์ดแสดงผล หรือที่เราเรียกกันติดๆ ปากว่า VGA Card ( หรือ Display Card หรือ Display Adaptor ) นั่นเอง ทั้งสองส่วนนี้ รวมแล้ว ก็เรียกได้ว่า เป็น "ระบบการแสดงผล" นั่นเอง

VGA Card นี้ มีหน้าที่หลักๆ คือ จะรับสัญญาณข้อมูล Digital มาจากหน่วยประมวลผลกลาง แล้วจึงทำการแปลงสัญญาณผ่านทางตัวแปลงสัญญาณภาพ หรือ RAMDAC ( RAM Digital-to-Analog Convertor ) ซึ่งเป็นตัวแปลงข้อมูลใน RAM ที่เก็บเป็น Digital ให้เป็นสัญญาณ Analog ส่งต่อไปยังจอ Monitor เพื่อทำการแสดงผลอีกทีหนึ่ง 


ส่วนประกอบในการทำงานของ VGA Card นั้น ประกอบด้วยส่วนหลักๆ อยู่ 3 ส่วน ที่ควรจะต้องพิจารณาในการเลือกซื้อ คือ 



1. ระบบ Bus ที่ใช้ในการติดต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU : 



ปัจจุบันนี้ VGA Card ที่เราๆ ใช้กันอยู่ จะมีการติดต่อ ส่งข้อมูลกับหน่วยประมวลผลกลาง ผ่านทางระบบ Bus บน Mainboard อยู่ 2 แบบ คือ ผ่านทาง PCI ( Peripheral Component Interconnect ) กับ AGP ( Accelerated Graphic Port ) 



ระบบ PCI หรือ Peripheral Component Interconnect ก็เป็น Local Bus อีกแบบหนึ่ง ที่พัฒนาขึ้นโดย Intel ในเดือนกรกฎาคม ปี 1992 โดยที่แยกการควบคุมของระบบบัส กับ CPU ออกจากกัน และส่งข้อมูลผ่านกันทางวงจรเชื่อม ( Bridge Circuit ) ซึ่ง จะมี Chipset ที่คอยควบคุมการทำงานของระบบบัสต่างหาก โดยที่ Chipset ที่ควบคุมนี้จะเป็นลักษณะ Processor Independent คือ ไม่ขึ้นกับตัว Processor ( หรือ CPU ) 



แรกเริ่มที่เปิดตัวนั้น PCI จะเป็นระบบบัสแบบ 32 Bit ที่ทำงานด้วยความเร็ว 33 MHz ซึ่งสามารถให้อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูลถึง 133 M/s 



ต่อมา เมื่อ Intel เปิดตัว CPU ใน Generation ที่ 5 ของตน Intel Pentium ซึ่งเป็น CPU ขนาด 64 Bit ทาง Intel ก็ได้ทำการกำหนดมาตรฐาน ของ PCI เสียใหม่ เป็น PCI 2.0 ในเดือนพฤษภาคม ปี 1993 ซึ่ง PCI 2.0 นี้ก็จะมีความกว้างของเส้นทางข้อมูลถึง 64 Bit ซึ่งหากใช้งานกับ Card 64 Bit แล้ว ก็จะสามารถให้อัตราเร็วในการส่งผ่านที่สูงสุดถึง 266 M/s 


จุดเด่นของ PCI ที่เห็นได้ชัด นอกเหนือไปจากข้างต้น ก็ยังมีเรื่องของ Bus Mastering ซึ่ง PCI นั้น ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับ EISA และ MCA แล้ว Chipset ที่ใช้เป็นตัวควบคุมการทำงาน ก็ยังสนับสนุนระบบ ISA และ EISA อีกด้วย ซึ่งก็สามารถทำให้ผลิต Mainboard ที่มีทั้ง Slot ISA , EISA และ PCI รวมกันได้ นอกจากนั้น ยังสนับสนุนระบบ Plug-and-Play อีกด้วย ( เป็นมาตรฐานที่พัฒนาในปี 1992 ที่กำหนดให้ Card แบบ Plug-and-Play นี้ จะไม่มี Dipswitch หรือ Jumper เลย ทุกอย่าง ทั้ง IRQ, DMA หรือ Port จะถูกกำหนดไว้แล้ว แต่เราก็สามารถเลือก หรือ เปลี่ยนแปลงได้จาก Software ) 


ในกลางปี 1996 เมื่อ Intel ได้ทำการเปิดตัว Intel Pentium II ซึ่งพร้อมกันนั้นก็ได้ทำการเปิดตัวสถาปัตยกรรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ของหน่วยแสดงผลด้วย นั่นก็คือ Accelerated Graphics Port หรือ AGP ซึ่งก็ได้เปิดตัว Chipset ที่สนับสนุนการทำงานนี้ด้วย คือ 440LX ( ซึ่งแน่นอน Chipset ที่ออกมาหลังจากนี้ ก็จะสนับสนุนการทำงานของ AGP ด้วย ) 



AGP นั้น จะมีการเชื่อมต่อกับ Chipset ของระบบแบบ Point-to-Point ซึ่ง จะช่วยให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่าง Card AGP กับ Chipset ของระบบได้เร็วขึ้น และยังมีเส้นทางเฉพาะ สำหรับติดต่อกับหน่วยความจำหลักของระบบ เพื่อใช้ทำการ Render ภาพ แบบ 3D ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย 

จากเดิม Card แสดงผล แบบ PCI นั้น จะมีปัญหาเรื่องของหน่วยความจำบน Card เพราะเมื่อต้องการใช้งานด้านการ Render ภาพ 3 มิติ ที่มีขนาดใหญ่มากๆ ก็จำเป็นต้องมีการใช้หน่วยความจำบน Card นั้นมากๆ เพื่อรองรับขนาดของพื้นผิว ( Texture ) ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของงาน Render แน่นอน เมื่อหน่วย ความจำมากๆ ราคาก็ยิ่งแพง ดังนั้น ทาง Intel จึงได้ทำการคิดค้นสถาปัตยกรรมใหม่เพื่องานด้าน Graphics นี้ โดยเฉพาะ AGP จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา 


AGP นั้นจะมี mode ในการ Render อยู่ 2 แบบ คือ Local Texturing และ AGP Texturing โดยที่ Local Texturing นั้น จะทำการ copy หน่วยความจำ ของระบบไปเก็บไว้ที่เฟรมบัฟเฟอร์ของ Card ( ซึ่งกำลังจะกล่าวถึงในหัวข้อย่อยถัดไป ) จากนั้นจึงทำการประมวลผลโดยดึงข้อมูลจากเฟรมบัฟเฟอร์บน Card นั้นอีกที ซึ่งวิธีการนี้ ก็เป็นวิธีการที่ใช้บนระบบ PCI ด้วย วิธีนี้จะพึ่งขนาดของหน่วยความจำบน Card มาก 



AGP Texturing นั้น เป็นเทคนิคใหม่ ที่ช่วยลดปริมาณของหน่วยความจำ หรือ เฟรมบัฟเฟอร์บน Display Card ลงได้มาก เพราะสามารถทำการใช้งาน หน่วยความจำของระบบให้เป็นเฟรมบัฟเฟอร์ได้เลย โดยไม่ต้องดึงข้อมูลมาพักไว้ที่เฟรมบัฟเฟอร์ของ Card ก่อน 



โดยปกติแล้ว AGP จะทำงานที่ความเร็ว 66 MHz ซึ่งแม้ว่าระบบจะใช้ FSB เป็น 100 MHz แต่มันก็จะยังคงทำงานที่ 66 MHz ( ซึ่งตรงจุดนี้ Mainboard บางรุ่น บางยี่ห้อ สามารถปรับแต่งค่านี้ได้ แต่ ทั้งนี้ และ ทั้งนั้น ก็ควรคำนึงถึงขีดจำกัดของ Card และ อุปกรณ์อื่นๆ ด้วย ) ซึ่ง ใน mode ปกติของมัน ก็จะมีความสามารถแทบจะเหมือน กับ PCI แบบ 66 MHz เลย โดยจะมีอัตราการส่งข้อมูลที่สูงถึง 266 Mbps และ นอกจากนี้ยังสามารถทำงานได้ทั้งขอบขาขึ้นและขอบขาลงของ 66 Mhz จึงเท่ากับว่ามันทำงานที่ 133 MHz ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการส่งถ่ายข้อมูลขึ้นได้สูงถึง 533 Mbps ( แน่นอนว่าทั้ง Card ที่ใช้ และ Chipset ที่ใช้ ต้องสนับสนุนการทำงานแบบนี้ด้วย ) ซึ่งเรียก mode นี้ ว่า mode 2X และ mode ปกติว่าเป็น mode 1X


จอภาพชนิด CRT

          จอภาพชนิดนี้ มีหลักการทำงานคล้ายเครื่องรับโทรทัศน์ คือ ยิงลำอิเล็กตรอนไปกระทบกับสารเรืองแสง Phosphor ที่  ฉาบอยู่ที่ผิวจอภาพด้านในผ่าน "หน้ากาก" ซึ่งเป็นแผ่นโลหะมีรูอยู่ตามจุดของ    Phosphor ทำให้เกิดแสงสีต่างๆ ขึ้นบนจอ ภาพตามแต่รูปแบบของสัญญาณภาพที่ส่งผ่านมาจาการ์ดแสดงผล
          ในท้องตลาดไปปัจจุบันยังคงนิยมใช้จอภาพชนิดนี้ เนื่องจากมีราคาถูก แต่มีข้อเสียคือ มีความหนา และน้ำหนัก มาก โดยหน้าจอจะมีความโค้งทำให้เกิดการสะท้อนของแสงมากทำให้ปวดตาได้ง่าย แต่โดยรุ่นใหม่ จะมีการออกแบบ ให้มี ความแบบ ราบมากขึ้นได้แก่จอภาพตระกูล Trinitron ของโซนี่ เป็นต้น ซึ่งจอภาพประเภทนี้ จะให้ภาพที่มี ความคม ชัดและสว่างมากกว่า เดิม
       

จอภาพชนิด LCD 

          จอภาพ LCD (Liquid Cystal isplay)   เป็นจอภาพแบบแบนมีขนาดเล็กบางและน้ำหนักเบา      มีหลักการทำงานคือ ภายในจะมีหลอดฟลูออเรสเซนต์  ทำหน้าที่ใช้แสงสว่างออกมาผ่านชั้นของผนึกเหลวที่เรียกว่า   Liquid Crystal  และผ่าน polarizer เพื่อให้แสงในแนวต่างๆ ผ่านมาตามการบิดตัวของแสงโดยผ่าน ฟิลเตอร์ สีอีกชั้นหนึ่ง  ทำให้เกิดเป็นจุดสีแดงต่อ ้ เนื่องกัน ออกมาเป็นภาพสีบนหน้าจอ
           สำหรับจอ LCD  ในปัจจุบันมักเป็น แบบ TFT (Thin-Film Transistor)  เพราะจะให้ภาพที่มีความสว่างสีสันสด ใส และคมชัดกว่าจอ LCD แบบ STN  แต่เดิมจอภาพชนิดนี้จะมีใช้เฉพาะในเครื่องโน๊ตบุ๊ค    แต่ปัจจุบันเริ่มมีใช้กันในเครื่อง แบบตั้งโต๊ะกันแล้ว โดยมีขนาดใหญ่ถึง 22"   สำหรับเครื่องโน๊ตบุ๊คจะมีขนาดใหญ่สุดประมาณ 16"
          ในท้องตลาดไปปัจจุบันยังคงนิยมใช้จอภาพชนิดนี้ เนื่องจากมีราคาถูก    แต่มีข้อเสียคือ        มีความหนาและน้ำหนักมาก โดยหน้าจอจะมีความโค้งทำให้เกิดการสะท้อนของแสงมากทำให้ปวดตาได้ง่าย แต่โดยรุ่นใหม่จะมีการออกแบบให้มีความแบบ ราบมากขึ้นได้แก่จอภาพตระกูล Trinitron ของโซนี่ เป็นต้น ซึ่งจอภาพประเภทนี้จะให้ภาพที่มีความคมชัดและสว่างมากกว่า เดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น