วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 7 โมเด็มและการ์ดเสียง

บทที่ 7
โมเด็มและการ์ดเสียง
การ์ดแสดงสัญญาณเสียง (Sound Card)


เป็นอุปรณ์สร้างและจัดการกับระบบเสียงทั้งหมดภายในเครื่ิองพีซี เช่น เล่นไฟล์เสียงในรูปแบบต่างๆ, เสียงดนตรีตามคำสั่งแบบ MIDI , บันทึกและแปลงเสียงลงเป็นไฟล์แบบดิจิตอล, ตลอดจนผสม (Mix) เสียงจากหลายๆแห่งที่มาเข้าด้วยกัน เป็นต้น


ส่วนประกอบของการ์ดเสียง

A*อินเตอร์เฟส เป็นส่วนที่เชื่อมต่อเข้ากับสล็อตบนเมนบอร์ด ปัจจุบันซาวด์การ์ดแทบทุกรุ่นจะใช้อินเตอร์เฟสที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบบัสแบบ PCI แทบทั้งสิ้น
B*Synthesizer เป็นชิปตัวประมวลผลหลักที่ทำหน้าที่สร้างหรือสังเคราะห์สัญญาณเสียงขึ้นมาตามคำสั่งที่ได้รับ โดยใช้การสังเคราะห์แบบ FM หรือแบบ Wavetable
C*Digital I/O Connector เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อกับการ์ด Digital I/O
D*AUX Connector เป็นช่างที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์จำพวกการ์ด TV Tuner หรือ MPEG2 Decoder เป็นต้น
E*Telephone Answering Device Connector เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ Voice Modem เพื่อรับส่งและส่งสัญญาณเสียงกับโมเด็ม
F*Analog/Digital Out jack เป็นช่องที่ใช่เชื่อมต่อเข้ากับลำโพง Center และ Sub-woofer หรือใช้สัญญาณเสียงไปยังอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยระบบดิจิตอล
G*Line In jack เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกเเพื่อรับสัญญารเสียงเข้าสู้การ์ด เช่น เครื่องเล่นเทป และเครื่องเล่นมินิดิสก์ เป็นต้น
H*Microphone In jack เป็นช่องที่ใช้เสียบเข้ากับอุปกรณ์จำพวกไมโครโฟน เพื่อใช้ในการบันทึกเสียงหรือแปลงสัญาณเสียงไปเป็นไฟฟ้า (ลนาล็อก-สเตอริโอ)
I*Line Out jack เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับชุดลำโพงแบบ 5.1 Channel โดยใช้เชื่อมต่อเข้ากับลำโพงคู่หลัง (ซ้าย-ขวา)
K*MID/Joystick Connector เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ MIDI หรืออุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการเล่นเกมเช่น Joystick และบังคับพวกพวงมาลัย เป็นต้น


โมเด็ม (Modem)
เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร และรับส่งข้อมูลกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง โอยอาศัยตัวกลางจำพวกสายโทรศัพท์และสาย Fiber Optic ในการส่งผ่านข้อมูล หลักการทำงานโดยคร่าวของโมเด็มก็คือ เปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลให้เป็นสัญญาณเสียงเพื่อให้สามารถส่งผ่านไปตามสายโทรศัพท์ได้ และในทางกลับกันก็รับเอาสัญญาณเสียงที่ถูกส่งผ่านมาตามสายโทรศัพท์จากโมเด็มอีกฟากหนึ่งมาแปลงกลับให้เป็นข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลแบบเดิม ปัจจุบันโมเด็มที่มีวางขายและใช้งานกันโดยทั่วไป ถ่าแบ่งออกตามเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจะแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

Dial-Up Modem (56K Dial-UP)

เป็นโมเด็มแบบอนาล็อคที่ใช้ในการรับส่งสัญญาณผ่านระบบโทรศัพท์แบบธรรดา เวลาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในแต่ละครั้งจำเป็นจะต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์ไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เร็ต (ISP) ด้วย มาตราฐานล่าสุดที่ใช้กันในปัจจุบัน คือ V.92 ซึ่งให้ Bit Rate หรืออัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 56/33.6 Kbps (รับข้อมูลขาลงจากอินเทอร์เน็ต หรือ Download ที่ความเร็ว 56 Kbps และส่งข้อมูล ขาขึ้น Upload ที่ความเร็ว 33.6 Kbps)



ADSL Modem (High-Speed Internet)
เป็นโมเด็มแบบดิจิตอลที่ใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลกันด้วยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนคู่สายโทรศัพท์แบบะรรดา โดยเลือกใช่ย่านความถี่ที่ไม่มีในการใช้งานอินเทอร์น็ต (โมเด็มแบบ Dial-Up ในระหว่างใช้งานอินเทอร์เน็ตจะำม่สามารถใช้โทรศัพท์ปกติไปพร้อมๆกันได้) อีกทั้งเวลาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในแต่ละครั่ง ก็ไม่จำเป็นต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์เหมือนกับ 56k Dial-Up อีกด้วย ปัจจุบันเทคโนโยยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Hing-Speed Internet) และโมเด็มของ ADSL นี้กำลังเป็นที่นิยมและได้กลายเป็นมาตรฐานที่ใช้งานกันโดยทั่วไป ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้ความเร็วได้ตามต้องการจากผ๔้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เช่น 256/128, 512/256 และ 1024/512 Kbps เป็นต้น โดยแต่ละความเร็วจะมีอัตราค่าบริการแต่กต่างกันไปสำหรับอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดด้วยระบบ ADSL ในปัจจุบันจะอยู่ที่ 8192/1024 Kbps หรือก็คือ รับส่งข้อมูลขาลงจาก ISP (Download) ด้วยความเร็วสูงสุด 16 Mbps และส่งข้อมูลขาขึ้นไปหา ISP (Uplpad) ด้วยความเร็วสูงสุด 1 Mbps
รูปแบบของโมเด็ม

การติดต่อสื่อสารของโมเด็ม
ปัจจุบันการสื่อสารข้อมูลโดยใช้โมเด็มถือว่าเป็นสิ่งที่คู่กัน เนื่องจากการสื่อสารข้อมูล กับเครือข่ายต่างๆ ซึ่งอยู่ระยะไกลต้องอาศัยโมเด็มเป็นสื่อกลางในการติดต่อเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้นโมเด็มจึงเปรียบเสมือน ประตูติดต่อสู่โลกภายนอกของคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว

สิ่งที่ควรทราบก่อนติดตั้งโมเด็ม
 -ท่านต้องทราบว่าคู่สายโทรศัพท์ของท่านเป็นแบบกดปุ่ม (Tone Dialing) หรือแบบหมุน (Palse Dialing)
 -ท่านต้องทราบความเร็ว (speed) ของโมเด็ม ซึ่งกำหนดเป็นบิตต่อวินาที (Bit Per Second ; BPS)
- ท่านต้องมีซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลโดยใช้ โมเด็ม ยกตัวอย่างเช่น PROCOMM, TELIX (ใช้งานบน DOS) หรือ โปรแกรม TERMINAL ของ WINDOW เป็นต้น หรือในกรณีที่ท่านซื้อโมเด็มมาจากบริษัท จะมีซอฟท์แวร์ในการสื่อสารข้อมูลให้ท่านอยู่แล้ว

ตัวอย่างการติดตั้งโมเด็มโดยใช้โปรแกรม

 เมื่อเรียกใช้โปรแกรม PROCOMM จะปรากฏหน้าจอแสดงสภาวะการทำงานและความเร็วของโมเด็ม พร้อมกับพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของโมเด็มก่อนการใช้งาน ในบรรทัดล่างสุดดังรูป
ALT-F10 HELPANSI-BBSFDX9600 N81LOG CLOSEDPRT OFFCRCR
- เมื่อต้องการติดตั้งค่าพารามิเตอร์ของโมเด็มใหม่ ให้กดปุ่ม Alt-P บนจอภาพก็จะปรากฏเมนูพารามิเตอร์ต่าง ๆ ดังรูป

LINE SETTINGS
CURRENT SETTINGS : 9600, N, 8, COM1
1) 300, E, 7, 1 7) 300, N 8, 1
2) 1200, E, 7 ,1 8) 1200, N, 8, 1
3) 2400, E, 7 ,1 8) 2400, N, 8, 1
4) 4800, E, 7 ,1 8) 4800, N, 8, 1
5) 9600, E, 7 ,1 8) 9600, N, 8, 1
6) 19200, E, 7 ,1 8) 19200, N, 8, 1
Parity Data Bits Stop Bits
13) ODD 16) 7 bits 18) 1 bits
14) MARK 17) 8 bits 19) 2 bits
15) SPACE
20) COM1 21) COM2 22) COM3 23) COM4
24) Save chang YOUR CHOICE :
Press ESC to return
จากรูปแสดงค่าพารามิเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ โมเด็มมีความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที รับส่งข้อมูลแบบ 8 บิต ไม่มีพาริตี้บิต และไม่มีบิตจบข้อมูล 1บิต ต่อโมเด็มเข้ากับพอร์ต COM1 ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีใช้แบบทั่ว ๆ ไป ถ้าเราต้องการเปลี่ยนแปลงค่าให้ตรงกับโมเด็มให้กดตัวเลขตามค่าการติดตั้งนั้น
หลังจากนั้น ทำการเก็บค่าของพารามิเตอร์นี้ไว้ใช้ในคราวต่อไป โดยกดเลข 24 (Save changes) และปุ่ม Enter โปรแกรมจะนำพารามิเตอร์ของโมเด็มที่เราตั้งนี้เก็บไว้ใช้ในคราวต่อ ๆ ไป เสร็จเรียบร้อยแล้วให้กดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปจอภาพรับส่งข้อมูลตามเดิ
การใช้งานโมเด็ม
1. เมื่ออยู่ในหน้าจอรับส่งข้อมูล ทำการเรียกใช้โมเด็มไปยังเครือข่าย โดยใช้คำสั่ง ATZ แล้วกด Enter
2. เรียกใช้คำสั่งในการติดต่อโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ เช่น เมื่อต้องการติดต่อกับสายโมเด็มหมายเลข 940-5800 ให้พิมพ์คำสั่งดังนี้
atdt 9405800 (กรณีที่ใช้คู่สายโทรศัพท์แบบกดปุ่ม) แล้วกด Enter
atdp 9405800 (กรณีที่ใช้คู่สายโทรศัพท์แบบหมุน) แล้วกด Enter
3. ถ้าติดต่อกับโมเด็มจะมีเสียงสัญญาณ และจอภาพจะแสดงคำว่า "RRING" ถ้าสามารถติดต่อได้จะมีข้อความปรากฏว่า "CONNECT" หลังจากนั้นให้กดปุ่ม Enter 2 ครั้ง ถ้าไม่สามารถติดต่อได้จะมีข้อความ "NO CARRIER" ปรากฏขึ้นมา ให้กดปุ่ม Esc และทำในขั้นตอนที่ 1 ซ้ำ จนกว่าจะสามารถติดต่อได้
4. ถ้าติดต่อกับเครือข่ายฯ ได้แล้วจะปรากฏข้อความดังนี้
Sun OS (nontri)
Login :
5. ให้ทำการใส่ Accout name ที่ท่านได้รับจากสำนักบริการ- คอมพิวเตอร์ และใส่รหัส Password ถ้าท่านป้อนข้อมูลถูกต้อง ท่านก็จะเข้าสู่หน้าจอของนนทรีเน็ต (ดังรูป) เท่านี้ท่านก็สามารถเข้าไปสู่โลกของ นนทรีเน็ตได้แล้ว

รูปแสดงหน้าจอของนนทรีเน็ตเมื่อทำการ Login เข้าไปได้เรียบร้อย



ตัวอย่างการติดตั้งโมเด็มโดยใช้โปรแกรม Terminal ของ Windows
 โปรแกรม TERMINAL จะอยู่ในกลุ่มโปรแกรมของ ACCESSORIES ให้เลือกที่ ICON
 ก่อนใช้งานเราต้องตั้งพารามิเตอร์ของโมเด็มเสียก่อน โดยใช้เมาส์ชี้ไปที่เมนู Setting จะปรากฏหน้าจอดังรูป

รูปแสดงการตั้งพารามิเตอร์โมเด็มของ Terminal
 สั่งให้โมเด็มเรียกไปยังปลายทาง โดยใช้เมาส์กดไปที่เมนู Settings แล้วกำหนดเบอร์โทรศัพท์เข้าไป ตัวอย่างดังรูป

รูปแสดงการใส่หมายเลขโทรศัพท์ปลายทาง
 สั่งให้เครื่องทำการติดต่อกับโมเด็ม โดยใช้เมาส์กดไปที่เมนู Phone แล้วเลือกคำสั่ง Dial โปรแกรมจะทำการหมุนโทรศัพท์ติดต่อ ไปยังปลายทางดังรูป

รูปแสดงการหมุนโทรศัพท์ไปยังปลายทางที่กำหนด
 เมื่อเริ่มติดต่อกับโมเด็มจะมีเสียงสัญญาณการติดต่อกับโทรศัพท์ ว่างหรือไม่ ถ้าว่างจะมีเสียงสัญญาณว่าง และมีข้อความปรากฏว่า "RRING" ถ้าติดต่อกับเครือข่ายได้จะมีข้อความ "CONNECT" ปรากฏขึ้นมา ให้กดปุ่ม Enter 2 ครั้ง แต่ถ้าติดต่อกับเครือข่ายไม่ได้จะมีข้อความ "BUSY" ปรากฏขึ้นมาแทน
 ในกรณีที่ติดต่อกับเครือข่ายได้จะปรากฏข้อความให้ LOG IN ลักษณะเดียวกับการใช้โมเด็มโดยใช้โปรแกรม PROCOMM
 ในกรณีที่ติดต่อกับเครือข่ายไม่ได้ให้เริ่มทำการ Dial ใหม่ หรือจะ ทำการเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์แล้วทำการ Dial ใหม่อีกครั้งก็ได้
เพียงเท่านี้ ท่านก็สามารถที่จะใช้งานโมเด็มในการติดต่อสื่อสารข้อมูลง่าย ๆ กับเครือข่าย Nontri-Net ได้ สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานซอฟ์แวร์การติดต่อข้อมูลข่าวสารผ่านทางโมเด็มอย่างลึกซึ้ง คงจะต้องศึกษาการใช้งานจากคู่มือ ซอฟท์แวร์สื่อสารข้อมูลเหล่านั้นเพิ่มเติมเอง
ขณะนี้มีหมายเลขโมเด็มจำนวน 100 เลขหมาย ผู้ใช้สามารถติดต่อมาใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยมี 4 หมายเลขดังนี้
 940-5800 ระบบทำการติดต่ออัตโนมัติให้ 25 หมายเลข
 940-5801 ระบบทำการติดต่ออัตโนมัติให้ 25 หมายเลข
 940-5802 ระบบทำการติดต่ออัตโนมัติให้ 25 หมายเลข
 940-5803 ระบบทำการติดต่ออัตโนมัติให้ 25 หมายเลข

มาตรฐานโมเด็มแบ่งได้เป็น ประเภทคือ
               1. มาตรฐานในส่วนของฮาร์ดแวร์ที่โมเด็มใช้
               2. มาตรฐานในส่วนของซอฟต์แวร์ซึ่งควบคุมการทำงานของโมเด็ม หรือคำสั่งของโมเด็ม
มาตรฐานในส่วนของฮาร์ดแวร์ของโมเด็ม 
          มาตรฐานในส่วนของฮาร์ดแวร์ของโมเด็ม กำหนดขึ้นโดยองค์การมาตรฐานสื่อสากล หรือ CCITT(International Telephone and Telephone and Telegraph Consultative Committee) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อมาเป็น ITUT (International Telephone and Telegraph Consultative Committee) โดยมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับความเร็วในการรับส่งข้อมูล ความถี่ที่ใช้ และเทคนิค การผสมสัญญาณในสาย เป็นต้น หน่วยงาน ITU-T มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการสื่อสารและรับส่งข้อมูล ผู้ผลิตรายใหญ่ทั่วโลกจึงปฏิบัติตามมาตรฐานของ CCITT หรือ ITU-T ทำให้โมเด็มซึ่งมียี่ห้อแตกต่างกันสามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ มาตรฐานในส่วนของฮาร์ดแวร์ของโมเด็ม ประกอบด้วย

               1. ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
               2. การผสมสัญญาณแบบ FSK, PSk\

ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
          ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของโมเด็มเรียกว่า บิตต่อวินาที (bit per second, bps) หรือ Bit Bate ส่วนอัตราในการส่งข้อมูลเป็นการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณไฟฟ้าในสายส่งเรียกว่า Baud Rat ส่วนเดิมการรับส่งข้อมูลจะใช้เทคนิคการผสมสัญญาณแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนเช่น การเปลี่ยนแปลงความถี่ของข้อมูลจาก และ อัตราการส่งข้อมูลและอัตราการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณในสายส่งจึงมีค่าเท่ากันหรือสัญญาณรูปคลื่น 1 ลูกจะแทนข้อมูล บิต ดังนั้นอัตราการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณในสายส่ง (Baud Rate) จึงเป็นอัตราในการส่งข้อมูล ต่อมาเทคนิคการผสมสัญญาณมีความซับซ้อนมากขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้สื่อสารกันได้ดีขึ้นแม้จะมีอัตราการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณในสายยังเท่าเดิม เช่น โมเด็มรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 1,200 Band เราจะไม่ทราบว่าโมเด็มมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้กี่บิตต่อวินาที เนื่องจากถ้าโมเด็มผสมสัญญาณ บิตต่อหนึ่งลูกคลื่น โมเด็มจะรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 1,200 บิตต่อวินาที หรือถ้าโมเด็มผสมสัญญาณ บิตต่อหนึ่งลูกคลื่นที่เปลี่ยนแปลงในสายส่ง โมเด็มจะรับส่งข้อมูลได้เร็วถึง 4,800 บิตต่อวินาที โดยยังมีอัตราการเปลี่ยนแปลงในสายส่งเท่ากัน 1,200 Band เหมือนเดิม เราจึงเลิกใช้คำว่า Band Rate เพื่อบอกความเร็วในการรับส่งข้อมูลของโมเด็มและใช้คำว่า Bit Rate หรืออัตราการส่งข้อมูลเป็นบิตต่อวินาทีแทน


การผสมสัญญาณแบบ FSK, PSK
          มาตรฐานการผสมสัญญาณที่ใช้มากในปัจจุบันคือ Frequency Shift Keying(FSK), Phase Shift Keying(PSK) และ Quadrature Amplitude Modulation(QAM) Frequency Shift Keying โมเด็มความเร็วต่ำ โดยแทนสัญญาณด้วย และ ด้วยความถี่ต่างกัน ฝ่ายส่งจะใช้ความถี่สองความถี่ แทน และ ส่วนฝ่ายรับใช้ความถี่อีกสองความถี่แทน และ ทั้งสองฝ่ายจึงใช้ความถี่รวมสี่ความถี่ การผสมสัญญาณแบบ FSK มักใช้กับโมเด็มมีความเร็วประมาณ 300 ถึง 600 บิตต่อวินาที และใช้กับโมเด็มแบบ Acoustic Coupler ความเร็วสูงสุดของโมเด็มที่ใช้เทคนิคในการผสมสัญญาณจะอยู่ที่ 1,200 บิตต่อวินาที ปกติโมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้การผสมสัญญาณแบบ FSK จะรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 300 บิตต่อวินาที การผสมสัญญาณแบบ FSK นี้จะได้อัตราการส่งข้อมูล (Bit Rate) จะเท่ากับ Baud Rate เสมอ
การผสมสัญญาณแบบ Phase Shift Keying (PSK) นั้นใช้หลักการแทนข้อมูล และ เป็นการแปลงสัญญาณของสายส่ง(Phase) เช่น อาจกำหนด 0แทนด้วยองศาหรือมุมของคลื่นให้มีความต่อเนื่องกันไป ส่วน แทนที่มุมจากเดิม 180 องศา  Quadrature Amplitude Modulation (QAM) คือการผสมสัญญาณการแปลง Phase และขนาดของสัญญาณพร้อมกัน เทคนิคของโมเด็มความเร็วสูง ซึ่งถ้าใช้ Phase อย่างเดียว มุมที่เปลี่ยนจะมีค่าน้อยไม่เพียงพอทำให้มีความผิดพลาดได้ ถ้าใช้การเปลี่ยน Phase และขนาดของสัญญาณประกอบด้วยจะทำให้วงจรด้านรับแยกความแตกต่างระหว่างสัญญาณของข้อมูลได้ชัดเจน
          สมัยแรก ๆ โมเด็มที่มีใช้งาน จะมีความเร็วแค่เพียง 1,200 bps เท่านั้น และได้มีการพัฒนาความเร็วให้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน ความเร็วของโมเด็มจะอยู่ที่ 56Kbps มาตราฐานของโมเด็มแต่ละรุ่นตามตารางต่อไปนี้
มาตราฐานของ X2, K56Flex และ V.90
           ครั้งแรกที่มีการคิดมาตราฐานของโมเด็มที่มีความเร็วสูงกว่า 33.6Kbps หรือที่เรียกว่า 56Kbps จะมีอยู่ มาตราฐานที่เกิดขึ้นมาก่อน แต่ไม่สามารถใช้งานด้วยกันได้ นั่นคือ X2 และ 56K Flex ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานโมเด็ม ของทั้งสองมาตราฐานนี้ จะต้องใช้งานกับ ISP ที่รองรับระบบนั้น ๆ เท่านั้น ต่อมา เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหานี้ และการทำให้เป็นมาตราฐานเดียวกัน จึงได้มีมาตราฐาน V.90 เกิดขึ้นสำหรับการใช้งานในความเร็ว56Kbps ซึ่งโมเด็มหลาย ๆ ยี่ห้อก็จะมีความสามารถ upgrade จากระบบเดิมให้เป็นแบบ V.90 ได้ด้วย ดังนั้นหากจะเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งานในปัจจุบัน ควรเลือกยี่ห้อหรือรุ่นที่รองรับมาตราฐาน V.90 ไว้ด้วย เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในการใช้งาน

  มาตรฐานในส่วนของซอฟต์แวร์
          โมเด็มจะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรับส่งข้อมูล ขณะที่โมเด็มไม่ได้ติดต่อกับปลายทางเพื่อส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์จะสามารถส่งคำสั่งต่างๆให้โมเด็มได้โดยไม่รบกวนการส่งข้อมูล เมื่อเปิดสวิทช์ให้โมเด็มทำงาน สัญญาณที่โมเด็มได้รับจากคอมพิวเตอร์เป็นคำสั่ง เมื่อติดต่อคอมพิวเตอร์ปลายทางได้ โมเด็มจะส่งข้อมูล จนกว่าจะเลิกติดต่อคอมพิวเตอร์ปลายทางหรือวางสายโทรศัพท์ โมเด็มจึงกลับมาอยู่ในภาวะที่รับคำสั่งจากคอมพิวเตอร์อีกครั้งหนึ่ง
บริษัท Hayes Microcomputers Products Inc. ผลิตชุดคำสั่งเพื่อสั่งงานโมเด็มใช้กับเครื่องพีซี ได้รับความนิยมถือเป็นมาตรฐานหนึ่ง คือคำสั่งการทำงานของโมเด็มโดยใช้ซอฟต์แวร์สั่งจากคอมพิวเตอร์ไปโมเด็มโดยตรง การใช้จึงมีความสะดวกขึ้นเพราะไม่ต้องปรับสวิทช์ในการเลือกการทำงานแบบต่างๆของโมเด็ม คำสั่งนี้เป็นคำสั่งมาตรฐานของ Hayes ภาษาไทยอ่านว่า เฮยส์

           หน้าที่ของคำสั่งโมเด็มคือ การควบคุมการทำงานที่จำเป็นของโมเด็ม อาทิ ต่อสายโทรศัพท์หรือวางสายโทรศัพท์ รีเซ็ทโมเด็ม สั่งโมเด็มหมุนโทรศัพท์ตามเบอร์ที่ติดต่อ ปรับพารามิเตอร์ต่างๆของโมเด็ม ตอบรับสัญญาณโทรศัพท์ที่เรียกเข้ามา เลือกให้ทำงานแบบ Echo on หรือ Echo off เป็นต้น

 ข้อดีของคำสั่งโมเด็มคือ
          เดิมการใช้งานโมเด็มก่อนมีคำสั่งโมเด็มหรือโมเด็มในยุคแรกต้องใช้คนในการหมุนโทรศัพท์ติดต่อเพื่อส่งข้อมูลไปจนกว่าฝ่ายรับจะรับโทรศัพท์โมเด็มมีหน้าที่เพียงรับส่งสัญญาณและเปลี่ยนแปลงสัญญาณที่ได้รับมาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้งานโมเด็มจึงไม่สะดวก ผู้ใช้งานโมเด็มจึงต้องมีความเข้าใจการทำงานของโมเด็มอย่างดีจึงจะใช้งานได้ และต้องมีการปรับฟังก์ชันการทำงานในด้านต่างๆส่วนใหญ่จะใช้การผลักสวิทช์เล็กๆ(DIP Switch) ต่อมาคำสั่งโมเด็มได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยการทำงานโมเด็มให้มีความสะดวกขึ้นตามหน้าที่ของโมเด็มดังกล่าวข้างต้น และโมเด็มเป็นคำสั่งติดต่อมีความสามารถปรับตัวแปรต่างๆของโมเด็มให้ใช้งานได้ตามความต้องการ ซึ่งผู้ใช้โมเด็มไม่ต้องรู้เรื่องรายละเอียดของโมเด็ม โดยโปรแกรมจะติดต่อส่งข้อมูล การใช้งานโมเด็มจึงเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้

คอมพิวเตอร์สั่งงานโมเด็มโดยใช้ Hayes Command (AT command)
          1. โมเด็มต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ โมเด็มพร้อมรับคำสั่งจากคอมพิวเตอร์
          2. คอมพิวเตอร์สั่งให้โมเด็มทำงานตามคำสั่ง
          3. โมเด็มทำงานตามคำสั่ง

การทำงานของโมเด็มจะเก็บคำสั่งต่างๆไว้เป็นหน่วยความจำพิเศษ โดยเก็บไว้ภายในโมเด็ม โมเด็มที่ใช้คำสั่งของ Hayes คือความจำส่วน S-Register มาตรฐานคำสั่งโมเด็มของ Hayes

          Hayes Command หรือ AT Command คือคำสั่งการใช้งานโมเด็มดังกล่าวข้างต้น คำสั่งทุกคำสั่งจะขึ้นต้นด้วย AT เมื่อจบคำสั่งปิดท้ายด้วยรหัส ASCII ตัวที่ 13 คือ Carriage Return หรือกด Enter โมเด็มจะรับคำสั่งไปทำงานทันที และตอบ OK บางคำสั่งมีรหัสหรือตัวเลขต่อท้ายเพื่อระบุวิธีการทำงาน เช่น ATB อาจตามด้วย หรือ คำสั่งจริงอาจเป็น ATBO หรือ ATB1 ก็ได้ บางคำสั่งตามด้วยข้อมูลเช่น ATDT2730037 คือคำสั่งATDT คำสั่งให้โมเด็มหมุนโทรศัพท์หมายเลข 2730037 เป็นต้น คำสั่งเรียงตามตัวอักษร ถึง Z

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น